เมนู

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวํ เป็นคำอุปมา. คำว่า เอวํ นั้น
สัมพันธ์ความเป็น 2 นัย คือ
1. ชนเหล่าใดเป็นผู้เอ็นดู. ชนเหล่านั้น ย่อมให้ข้าวน้ำเป็นต้น เพื่อ
ญาติทั้งหลาย เมื่อญาติไร ๆ แม้ระลึกไม่ได้ เพราะกรรมของสัตว์เหล่านั้น
เป็นปัจจัยอย่างนี้.
2. ถวายพระพรชนเหล่าใด เป็นผู้เอ็นดู ชนเหล่านั้น ย่อม
ให้ข้าวน้ำอันสะอาด ประณีต เป็นกัปปิยะของควรตามกาล เพื่อญาติทั้งหลาย
เหมือนอย่างมหาบพิตรถวายทานฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ททนฺติ ได้แก่ ให้ อุทิศ มอบให้. บทว่า
ญาตีนํ ได้แก่ คนที่เกี่ยวเนื่องข้างมารดาและข้างบิดา. บทว่า เย ได้แก่
พวกใดพวกหนึ่งไม่ว่า บุตร ธิดา หรือพี่น้อง. บทว่า โหนฺติ แปลว่า ย่อมมี
บทว่า อนุกมฺปกา ได้แก่ผู้ประสงค์ประโยชน์ผู้แสวงประโยชน์เกื้อกูล. บทว่า
สุจึ ได้แก่ ไร้มลทิน ควรชม ชื่นใจ เป็นธรรม ได้มาโดยธรรม. บทว่า
ปณีตํ ได้แก่สูงสุด ประเสริฐสุด. บทว่า กาเลน ได้แก่ ตามกาลที่พวก
เปรตผู้เป็นยาติมายืนอยู่ภายนอกฝาเรือน เป็นต้น. บทว่า กปฺปิยํ ได้แก่
ควร เหมาะ สมควรบริโภคของพระอริยะทั้งหลาย. บทว่า ปานโภชนํ
ได้แก่ น้ำด้วย ข้าวด้วย ชื่อว่า น้ำและข้าว. ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาไทย-
ธรรมทุกอย่าง โดยยกน้ำและข้าวขึ้นนำหน้า.

การพรรณนาคาถาที่ 4 สัมพันธ์กับคาถาที่ 3


พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงสรรเสริญน้ำและข้าวที่พระเจ้ามคธรัฐทรง
ถวาย เพื่ออนุเคราะห์หมู่พระประยูรญาติที่เป็นเปรต อย่างนี้ จึงตรัสว่า

ชนเหล่าใดเป็นผู้เอ็นดู ชนเหล่านั้นย่อมให้น้ำ
และข้าวอันสะอาดประณีตเป็นของควรตามกาลอย่างนี้.

เมื่อทรงแสดงประการที่ทานซึ่งให้แล้ว เป็นอันให้เพื่อญาติเหล่านั้นอีก จึง
ตรัสกิ่งต้นแห่งคาถาที่ 4 ว่า อทํ โว ญาตีนํ โหตุ เป็นต้น . พึงสัมพันธ์
ความกับกึ่งต้นของคาถาที่ 3 ว่า
ชนเหล่าใด เป็นผู้เอ็นดู ชนเหล่านั้นย่อมให้น้ำ
และข้าวอย่างนี้ว่า ขอทานนี้แล จงมีแก่ญาติทั้งหลาย
ขอญาติทั้งหลาย จงประสบสุขเกิด.

ด้วยเหตุนั้น ตัวอย่างอาการที่พึงให้เป็นอันทรงทำแล้ว ด้วย เอวํ ศัพท์ ที่มี
อรรถว่าอาการในคำนี้ว่า ชนเหล่านั้น ย่อมให้โดยอาการอย่างนี้ว่า ขอทานนี้
แลจงมีแก่ญาติทั้งหลาย ไม่ใช่โดยอาการอย่างอื่น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทํ. เป็นบทแสดงตัวอย่างไทยธรรม.
บทว่า โว เป็นเพียงนิบาตอย่างเดียว ไม่ใช่ฉัฏฐีวิภัตติ เหมือนในประโยค
เป็นต้นอย่างนี้ว่า กจฺจิ ปน โว อนุรุทฺธา สมคฺคา สมฺโมทมานา.
และว่า เยหิ โว อริยา. บทว่า ญาตีนํ โหตุ ความว่า จงมีแก่ญาติ
ทั้งหลายที่เกิดขึ้นปิตติวิสัย. บทว่า สุขิตา โหนฺติ ญาตโย ความว่า ขอ
พวกญาติที่เข้าถึงปิตติวิสัยเหล่านั้น จงเป็นผู้เสวยผลทานนี้ มีความสุขเถิด.

พรรณนาตอนปลายของคาถาที่ 4


สัมพันธ์กับตอนต้นของคาถาที่ 5


พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงประการที่ทานอันญาติ พึงให้แก่
ญาติทั้งหลายที่เข้าถึงปิตติวิสัยจึงตรัสว่า ขอทานนี้แลจงมีแก่ญาติทั้งหลาย ขอ
ญาติทั้งหลายจงประสบสุขดังนี้ เพราะเหตุที่เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ขอ